สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ที่อยู่ 110 อาคารโอเรียนเต็ล เรสซิเดนซ์ ชั้น 3 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย เป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ขนาดทาง 1.00 เมตร เพิ่มขึ้นจำนวน 1 ทาง ขนานไปกับเส้นทางรถไฟเดิม ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร มีสถานีทั้งสิ้น 14 สถานี (ก่อสร้างสถานีใหม่ 6 สถานี ปรับปรุงสถานีเดิม 8 สถานี)
โดยได้มีการก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ จำนวน 31 แห่ง และถนนลอดใต้ทางรถไฟ จำนวน 53 แห่ง พร้อมก่อสร้างรั้วตลอดแนวเส้นทางรถไฟ
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย มีแผนงานจะเปิดให้บริการประชาชนในปี พ.ศ. 2570 จึงต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2566 และเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2567
โดยคาดว่าปริมาณผู้โดยสารมีจำนวนประมาณ 3,500 คนต่อวัน ในปี พ.ศ. 2569 และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 5,800 คนต่อวัน ในปี พ.ศ. 2599 และมีปริมาณการขนส่งสินค้าโดยใช้เส้นทางรถไฟช่วงนี้จำนวนประมาณ 3.50 ล้านตันต่อปี ในปี พ.ศ. 2569 และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 4.20 ล้านตันต่อปี ในปี พ.ศ. 2599
สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ในแผนงาน 1 การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง (การพัฒนาระบบรถไฟรางคู่) ระยะที่ 2 เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งทางราง สนับสนุนการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า
สอดคล้องตามนโยบายการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์และแผนการพัฒนาต่างๆ ของรัฐบาลที่สนับสนุนให้มีการระบบขนส่งทางราง เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุทางถนน ลดมลพิษ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า และสามารถประหยัดการใช้พลังงานของประเทศได้ในระยะยาว
ที่มา :: ฐานเศรษฐกิจ