History

เดิมสมาคมนี้เรียกว่า “สมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม” จดทะเบียนเป็นสมาคมตามพระราชบัญญัติเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2471 โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

เพื่อส่งเสริมวิชาความรู้แห่งการช่างให้เจริญเทียบทันสมัยนิยมและเพาะปลูกความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ โดยมีการประชุม ฟังบรรยายแต่งเรื่องขึ้นพิมพ์สู่กันอ่าน ประชุมหารือหรือแสดงคารมในวิทยาการและข้อความอันเกี่ยวกับการช่างโดยทั่วไป
เพื่อส่งเสริมสมานความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระหว่างนายช่าง โดยการคบหาสมาคมเชื่อมต่อกิริยาอัธยาศัย
เพื่อรักษาฐานและความประพฤติของนายช่างให้เชิดหน้าชูตาเป็นที่นับถือเลื่อมใส ของคนทั่วไป ของคนทั่วไป
นอกจากประโยชน์ทั้ง 3 ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น สมาคมจะเป็นสถานที่เพาะปลูกกิจการอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์และให้ความสะดวกแก่นายช่าง ตามที่คณะกรรมการอำนวยการเห็นว่า เป็นปัจจัยส่งเสริมให้ความมุ่งหมายของสมาคม สำเร็จได้ด้วยดี ไม่เป็นปรปักษ์แก่พระราชกำหนดกฎหมาย

หมายเหตุ : ก่อนหน้านี้ เมื่อ 25 ปีมาแล้ว ในกรุงสยามได้เคยตั้งสมาคมมาแล้ว แต่สมาชิกโดยมากเป็นชาวต่างประเทศ มีคนไทย 2 คนเท่านั้นได้เคยมีการประชุมและปาฐกถา แต่ต่อมาพบน้อยเข้าทุกทีจนเลิกไปเงียบๆ

ยุคที่สอง เปลี่ยนชื่อสมาคมครั้งที่ 1 ต่อมาในปีพ.ศ. 2479 ยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการปรับองค์กร และเปลี่ยนชื่อสมาคมใหม่เป็น “สมาคมนายช่างแห่ง ประเทศไทย” คำต่อท้ายในพระบรมราชูปถัมภ์หายไปโดยยังไม่ทราบเหตุผลและหาหลักฐานไม่ได้ ในยุคนี้ หลวงยุกตเสวีวิวัฒน์ เป็นนายกสมาคม นายสง่า วรรณดิษฐ์ และนายบุญทอง ผ่องสวัสดิ์ ตามลำดับ จวบจนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 สมาคมถูกบังคับให้หยุดการดำเนินกิจการโดยเด็ดขาด กิจการของสมาคมได้หยุดชะงักไปอีกช่วงหนึ่ง ยุคที่สาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามสงบทั้งในแถบเอเชียและแปซิฟิค ประเทศไทยก็เข้าสู่ยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยขึ้นและนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นปีทองของการก่อสร้าง เพราะการก่อสร้างได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางโดยการพัฒนาให้ กรุงเทพฯ และเมืองอื่น ๆ ทันสมัยขึ้น ระยะแรกหลังจากสงครามสงบ หลวงยุกตเสวีวิวัฒน์ ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมโยธาธิการ ท่านได้เริ่มฟื้นฟูกิจกรรม ของสมาคมนายช่างเหมาแห่งประเทศไทยขึ้นครั้งแรก หลังจากนั้น นายสง่า วรรณดิษฐ์ ก็ได้รับเลือกขึ้นเป็นนายกสมาคมอีกวาระหนึ่งและ ในคราวนี้ สมาคมได้ย้ายที่ทำการจากเดิมมาใช้สถานที่ร่วมกับ สภาหอการค้าไทย ที่ถนนราชบพิธ ในช่วง 2 – 3 ปี หลังจากสงครามนี้เอง ที่สมาคม ได้พยายามที่จะขยายขอบเขตกิจกรรมออกไปให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้ง พัฒนาความรู้ในด้านเทคโนโลยีและระบบบริหารไปพร้อม ๆ กันด้วย

ในช่วงนี้เอง ในการประชุมที่ฮ่องกง พ.ศ. 2508 ที่สมาคมฯ ได้เข้า เป็นสมาชิกของสหพันธ์ผู้รับเหมาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกตะวันตก การที่สมาคมได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ ในครั้งนี้ทำให้ สมาคมมีโอกาสเข้าร่วมการประชุมในระดับนานาชาติ และมีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ และเทคนิคในหมู่สมาชิกด้วยกัน จึงเท่ากับ เป็นการเพิ่มทักษะและความรู้เรื่องวงการก่อสร้างให้เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นสมาชิกสหพันธ์ฯ ยังมีโอกาสที่จะเข้าร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติ ในการเข้าร่วมประมูลกับรัฐบาลหรือบริษัทต่างชาติซึ่งไม่มีข้อบังคับมากเท่าแต่ก่อนด้วย การเปลี่ยนแปลงครั้งที่สำคัญที่สุดของสมาคม ได้เกิดขึ้นในปี 2509 เมื่อรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจการค้าซึ่ง ระบุว่าธุรกิจเอกชนและสมาคมจะต้องจดทะเบียนการค้าอีกครั้งหนึ่งกับกรมการค้าภายใน เปลี่ยนชื่อสมาคมครั้งที่ 2 ”สมาคมนายช่างแห่งประเทศไทย” ได้ทำการจดทะเบียนใหม่อีกครั้ง เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2509 และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นที่รู้จักกัน ว่า “สมาคมนายช่างเหมาไทย” และได้ย้ายที่ทำการไปตั้งอยู่ ณ เลขที่ 110 ถนนวิทยุ ในปี 2510 ตราบเท่าทุกวันนี้ เปลี่ยนชื่อสมาคมครั้งที่ 3 ต่อมาในยุคสมัยนายมานะ กรรณสูต เป็นนายกสมาคมฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2526 ได้ทำการเปลี่ยนชื่อสมาคมเพื่อความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่งเป็น “สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย” และชื่อนี้ยังคงใช้อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้

นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
  1. หลวงยุกตเสวีวิวัฒน์ พ.ศ. 2489
  2. นายสง่า วรรณดิษฐ์ พ.ศ. 2490
  3. นายบุญทอง ผ่องสวัสดิ์ พ.ศ. 2491-2499
  4. นายสง่า วรรณดิษฐ์ พ.ศ. 2509-2510
  5. นายธงชัย ลาวัลย์ศิริ พ.ศ. 2511-2513
  6. นายสถิตย์ พรหมสุทธิ พ.ศ. 2514-2517
  7. น.พ.ชัยยุทธ กรรณสูตร พ.ศ. 2518-2521
  8. นายวิจิตร ชวนะนันท์ พ.ศ. 2522-2525
  9. นายมานะ กรรณสูตร พ.ศ. 2526-2527
  10. นายวิศว์ ลิปตพัลลภ พ.ศ. 2528-2529
  11. นายสมบัติ เพ็ชรตระกูล พ.ศ. 2530-2531
  12. นายดุลยกร ภิญโญสินวัฒน์ พ.ศ. 2532-2535
  13. นายยิ้ม ตรีวิศวเวทย์ พ.ศ. 2536-2540
  14. นายจรูญ จันทร์จำรัสแสง พ.ศ. 2541-2543
  15. นางสุมาลี บุญพจนสุนทร พ.ศ. 2544-2545
  16. นายภูมิสัน โรจน์เลิศจรรยา พ.ศ. 2546-2548
  17. นายพลพัฒ กรรณสูต พ.ศ. 2549-2551
  18. นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล พ.ศ.2555 -2557
  19. นายสังวรณ ลิปตพัลลภ พ.ศ.2558-2560
  20. นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล พ.ศ.2561-2563
  21. นางสาวลีซ่า งามตระกูลพานิช พ.ศ.2564-ปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ของสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย 2
  1. เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้างทุกสาขา ให้เป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาล, องค์การ, บริษัท, ห้างฯ, ร้าน และประชาชนทั้งในและนอกประเทศ ในด้านการทำงานวิชาการ ราคา และศีลธรรม
  2. บำเพ็ญตนเป็นสถาบันกลางระหว่างรัฐบาล, องค์การ หรือเจ้าของงานกับผู้รับเหมา
  3. เพื่อประสานสามัคคีและพบปะสังสรรค์จัดงานบันเทิงกีฬาในระหว่างสมาชิก และครอบครัว กับผู้มีอาชีพรับเหมาก่อสร้างเป็นครั้งคราว
  4. ไม่ดำเนินการทางการเมือง ย้อนอดีต ยุคแรกก่อนสงครามโลก
คณะผู้เริ่มจัดตั้งสมาคม ได้มีการดำเนินการขั้นตอนที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้

12 ธันวาคม พ.ศ. 2471 จดทะเบียนจัดตั้งสมาคม 28 ธันวาคม พ.ศ. 2471 ได้มีการประชุมใหญ่สมาชิกคือผู้เริ่มตั้งสมาคมเป็นครั้งแรกที่วังพญไท เพื่อเลือกตั้งกรรมการอำนวยการประจำพ.ศ.2471และได้มีการอัญเชิญ นายพลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวง กำแพงเพ็ชรอรรคโยธิน นายพลโท หม่อมเจ้าเสริฐสิริ และมหาอำมาตย์ตรี พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคม และที่ประชุมใหญ่ได้พร้อมกันตกลงอัญเชิญเสด็จ กรมหลวงกำแพงเพ็ชรอรรคโยธินเป็นนายก และหม่อมเจ้าเสริฐสิริกับพระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ เป็นอุปนายกของสมาคมด้วย เพื่อเป็นเกียรติยศและสวัสดิมงคลต่อสมาคม * รายพระนามและนามคณะกรรมการอำนวยการ ปี พ.ศ. 2471 ปีที่ 1 *

  1. นายพลเอก พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพ็ชรอรรคโยธิน นายกสมาคม
  2. นายพลโท หม่อมเจ้าเสริฐสิริ อุปนายก
  3. มหาอำมาตย์ตรี พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ อุปนายก
  4. อำมาตย์เอก พระยาสฤษดิการบรรจง ประธานกรรมการ
  5. อำมาตย์โท พระเจริญวิศวกรรม เหรัญญิก
  6. นายพันโท พระเวชยันตรังสฤษฎ์ กรรมการ
  7. รองอำมาตย์เอก หม่อมเจ้าดุลภากร กรรมการ
  8. หม่อมราชวงศ์ เชื้อ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการ
  9. นายพันโท หลวงเนรมิตรไพชยนต์ กรรมการ
  10. นายนาวาโท หลวงจักรานุกรกิจ กรรมการ
  11. อำมาตย์ตรี หลวงรกรัฐวิจารณ์ กรรมการ
  12. อำมาตย์ตรี หลวงประกอบยนตรกิจ กรรมการ
  13. นายสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา กรรมการ

3 มกราคม พ.ศ. 2472 สมาคมนายช่างแห่งกรุงสยามได้มีการจัดเลี้ยงฉลองที่วังสุโขทัย นายกกิตติมศักดิ์ ได้มีพระดำรัสในงาน เลี้ยงของสมาคม 31 มีนาคม พ.ศ. 2472 นายพลเอก พระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระกำแพงเพ็ชรอรรคโยธิน นายกกิตติมศักดิ์ของสมาคมได้ทรงนำคณะกรรมการ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่วังสุโขทัย เพื่อกราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภ์ของสมาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณรับสมาคมนายช่าง เหมาแห่งกรุงสยามเข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ทั้งนี้นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงแก่นายช่างทั้งปวง ตั้งแต่นั้นมา กิจการของสมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ดำเนินมาด้วยดี จนกระทั่งปี 2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กิจการของสมาคมได้หยุดชะงักไปช่วงหนึ่ง

Follow Us

สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ที่อยู่ 110 อาคารโอเรียนเต็ล เรสซิเดนซ์ ชั้น 3 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Copyright By Wolves Corporation, All Right Reserved